แก๊ส


ความหมายของแก๊ส 

แก๊ส คือ เชื้อเพลิง เรียกเป็นภาษาราชการว่า “ก๊าซ” ภาษาเทคนิคว่า “แก๊ส ปิโตรเลียมเหลว” (Liquid fluid Petroleum Gas-LPG)
แต่เราจะเรียกด้วยความเคยชินว่า “ แก๊ส ” หรือ “แก๊สหุงต้ม” แก๊สเป็นผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียม ซึ่งได้มาจากแหล่งผลิตสำคัญสองแหล่ง คือ จากขบวนการกลั่นน้ำมันและจากการแยกก๊าซธรรมชาติ การที่ได้ชื่อว่า แก๊สปิโตรเลียมเหลวเพราะว่าแก๊สสามารถแปรสภาพจากแก๊สเป็นของเหลวได้ง่ายภายใต้ความกดดันไม่สูงนักและอุณหภูมิไม่ต่ำมากนักได้ ในกฎหมายได้ให้คำนิยามของแก๊สหรือก๊าซว่า หมายถึง “ก๊าซไฮโดรคาร์บอนเหลว” หรือ โปรเบน โปรปิลีน นอร์มอล-บิวเทน ไอโซ-บิวเทน หรือบิวทีลีน อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างผสมกันเป็นส่วนใหญ่

แก๊สหุงต้ม เป็นผลผลิตจากกระบวนการแยกแก๊ส (ก๊าซ) ธรรมชาติและการกลั่นน้ำมัน
ซึ่งโรงแยกแก๊สธรรมชาติ และโรงกลั่นน้ำมันไม่ได้มีอยู่ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ  ดังนั้นทางที่ดี
ที่สุดที่จะกระจายการใช้สอยแก๊สหุงต้มให้กับพี่น้องคนไทยได้ทั่วประเทศนั้น คือจัดตั้ง คลังปิโตรเลียม
เพื่อจัดเก็บและบรรจุแก๊สหุงต้มในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งถ้าไม่มี คลังปิโตรเลียมแล้ว
การใช้ประโยชน์คงจำกัดอยู่เพียงไม่กี่จังหวัดเท่านั้นหรือมิฉะนั้น จะไม่สามารถกำหนดราคาแก๊สหุงต้มที่ยุติธรรมได้ ซึ่งก๊าซชนิดนี้ เป็นแก๊สที่ช่วยอำนวย  ความสะดวกให้กับการประกอบอาหารในชีวิตประจำวัน
นอกจากนั้นยังสามารถนำแก๊สไปใช้  ในยานพาหนะ ด้านพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมด้วย


สมบัติของแก๊ส
     
 สมบัติทั่วไปของแก็ส ได้แก่

        1. แก๊สมีรูปร่างเป็นปริมาตรไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุ บรรจุ ในภาชนะใดก็จะมีรูปร่างเป็นปริมาตรตามภาชนะนั้น เช่น ถ้าบรรจุในภาชนะทรงกลมขนาด 1 ลิตร แก๊สจะมีรูปร่างเป็นทรงกลมมีปริมาตร 1 ลิตร เพราะแก็สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค (โมเลกุล หรืออะตอม) น้อยมาก จึงทำให้อนุภาคของแก๊สสามารถเคลื่อนที่หรือแพร่กระจายเต็มภาชนะที่บรรจุ
        2. ถ้าให้แก๊สอยู่ในภาชนะที่เปลี่ยนแปลงปริมาตรได้ ปริมาตรของแก๊สจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความดันและจำนวนโมล ดังนั้นเมื่อบอกปริมาตรของแก๊สจะต้องบอกอุณหภูมิ ความดันและจำนวนโมลด้วย เช่น แก๊สออกซิเจน 1 โมลมีปริมาตร 22.4 dm3 ที่อุณหภูมิ 0 C ความดัน 1บรรยากาศ (STP)
        3. สารที่อยู่ในสถานะแก๊สมีความหนาแน่นน้อยกว่าเมื่ออยู่ในสถานะของเหลวและของแข็งมาก เช่น ไอน้ำ มีความหนาแน่น 0.0006 g/cm3แต่น้ำมีความแน่นถึง 0.9584 g/cm3 ที่100 C
        4. แก๊สสามารถแพร่ได้ และแพร่ได้เร็วเพราะแก็สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อยกว่าของเหลวและของแข็ง
        5. แก็สต่างๆ ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปเมื่อนำมาใส่ในภาชนะเดียวกัน แก๊สแต่ละชนิดจะแพร่ผสมกันอย่างสมบูรณ์ทุกส่วน นั้นคือส่วนผสมของแก๊สเป็นสารเดียว หรือเป็นสารละลาย (Solution)
        6. แก๊สส่วนใหญ่ไม่มีสีและโปร่งใส่เช่นแก๊สออกซิเจน(O2)แก๊สไฮโดเจน(H2) แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)แต่แก๊สบางชนิดมีสี เช่น แก๊สไนโตเจนไดออกไซด์ (NO2) มีสีน้ำตาลแดง แก๊สคลอรีน(Cl2) มีสีเขียวแกมเหลือง แก๊สโอโซน (O3) ที่บริสุทธิ์มีสีน้ำเงินแก่ เป็นต้น



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ALTAIR 5X MSA เครื่องตรวจวัดแก๊ส Gas Detector

7291/AZ INSTRUMENT เครื่องวัดแก๊ส GAS LEAK DETECTOR

PONPE 320-P/PONPE INSTRUMENTS ปั๊มสำหรับเก็บตัวอย่างแก๊ส GAS SAMPLING PUMP